วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550

PC 64 Bit

บทนำ

คอมพิวเตอร์แบบ 64 bit นี้ถือเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาแทนที่สถาปัตยกรรมแบบ 32 bit
ซึ่งเทคโนโลยีแบบ 64 bit นี้การรับส่งข้อมูลจะมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น การประมวลผลรวดเร็ว
ยิ่งกว่าเดิม และเมนบอร์ดนี้ยังมีความยืดหยุ่นและสามารถเข้าได้กับทุกระบบอีกทั้งยังรองรับสถาปัตยกรรมแบบ 64 bit และ 32 bit อีกด้วย

ความหมายและความเป็นมาของ คอมพิวเตอร์

เมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า คอมพิวเตอร์ ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ จะหมายถึงเครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง ๆ เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด

ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึงเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์

ลักษณะวิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (analog computer) เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ แต่จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทน ไม้บรรทัดคำนวณ อาจถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ค่าตัวเลขตามแนวความยาวไม้บรรทัดเป็นหลักของการคำนวณ โดยไม้บรรทัดคำนวณจะมีขีดตัวเลขกำกับอยู่ เมื่อไม้บรรทัดหลายอันมรประกบรวมกัน การคำนวณผล เช่น การคูณ จะเป็นการเลื่อนไม้บรรทัดหนึ่งไปตรงตามตัวเลขของตัวตั้งและตัวคูณของขีดตัวเลขชุดหนึ่ง แล้วไปอ่านผลคูณของขีดตัวเลขอีกชุดหนึ่งแอนะล็อกคอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์จะใช้หลักการทำนองเดียวกัน โดยแรงดันไฟฟ้าจะแทนขีดตัวเลขตามแนวยาวของไม้บรรทัด

แอนะล็อกคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่งสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว ข้อมูลตัวแปรนำเข้าอาจเป็นอุณหภูมิความเร็วหรือความดันอากาศ ซึ่งจะต้องแปลงให้เป็นค่าแรงดันไฟฟ้า เพื่อนำเข้าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้าแปรกับเวลาซึ่งต้องแปลงกลับไปเป็นค่าของตัวแปรที่กำลังศึกษา

ในปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนักเพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะบางอย่างเท่านั้น

2. ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (digital computer) คอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน จัดเป็นดิจิทัลคอมพิวเตอร์แทบทั้งหมด ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข มีหลักการคำนวณที่ไม่ใช่แบบไม้บรรทัดคำนวณ แต่เป็นแบบลูกคิด โดยแต่และหลักของลูกคิดคือ หลักหน่วย หลักร้อย และสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นระบบเลขฐานสินที่แทนตัวเลขจากศูนย์ถ้าเก้าไปสิบตัวตามระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลักเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นระบบเลขฐานสองที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียงสองตัว คือเลขศูนย์กับเลขหนึ่งเท่านั้น โดยสัญลักษณ์ตัวเลขทั้งสองตัวนี้ จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด ดังนั้นเลขฐานสิบที่ใช้และคุ้นเคยจะถูกแปลงไปเป็นระบบเลขฐานสองเพื่อการคำนวณภายในคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังเป็นเลขฐานสองอยู่ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย

วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ยุคแรก

อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)


มาร์ค วัน

อีนิแอค


ยูนิแวค



คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง



คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม

คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง



คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่


คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง


คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า

คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการ ด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง

ประวัติของ CPU จาก 8 บิต ถึง 64 บิต

หัวใจในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์คือ CPU เพราะการประมวล การสั่งการให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานก็ขึ้นอยู่กับ CPU นี่แหละ ถ้า CPU ทำงานได้เร็ว เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็พลอยทำงานเร็วไปด้วย และในปัจจุบันนี้ การที่จะบอกประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็บอกถึงตัว CPU ที่ใช้นี่แหละ เป็นตัวบอก


8086, 8088
CPU สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ตระกูล PC ตัวแรกเป็นผลผลิตของบริษัท Intel ยักษ์ใหญ่มือวางอันดับหนึ่งของวงการ CPU นั้นเอง โดยบริษัท IBM นำมาใช้กับเครื่อง PC ในตระกูล IBM PC หรือที่รู้จักกันในนาม XT และ CPU ตัวนี้ก็เป็นต้นแบบของ CPU ในสถาปัตยกรรม X86 ที่ Intel หรือแม้บริษัทอื่น นำมาผลิต CPU ที่ใช้กับเครื่อง PC จนถึงปัจจุบันนี้ (ยกเว้นก็แต่ตัว Intel เอง ซึ่งผลิต CPU ขนาด 64 บิต ที่ไม่ใช้สถาปัตยกรรม X86) 8088, 8086 เป็น CPU ที่ประมวลผลทีละ 8 บิต มีชุดคำสั่ง 76 คำสั่ง ระบบปฏิบัติการที่สนับสนุน CPU ตัวนี้ก็คือ DOS อันเลื่องชื่อของไมโครซอฟท์ นั้นเอง


80286
ยุคเริ่มต้น CPU ขนาด 16 บิตเริ่มจาก CPU ตัวนี้แหละ โดยมีโหมดการทำงานอยู่ 2 โหมด คือ Standard mode และ Protected mode (ระบบปฏิบัติการ Windows ที่ทำงานบนเครื่อง 286 จะทำงานใน Standard mode)


80386
เป็น CPU เบอร์แรกที่ประมวลผลทีละ 32 บิต ทำให้สามารถจัดการหน่วยความจำได้ดีกว่า 80286 มาก แม้ว่า 80386 จะประมวลผลได้คราวละ 32 บิตก็ตาม แต่อุปกรณ์ต่างๆ ในเวลานั้นยังเป็นแบบ 16 บิตอยู่มาก Intel จึงได้ออกแบบ 80386SX ที่สามารถนำไปใช้กับเมนบอร์ดที่ออกแบบมาสำหรับ 80286 ได้ทันที นอกจากนี้ 80386SX ยังมีราคาถูกว่า 80386 อยู่มาก


80486
ความจริงก็คือ 80386 รุ่นปรับปรุงนั้นเองโดยได้เพิ่มตัวประมวลผลทางคณิตศาสตร์ (Math co-pocessor) เพิ่มหน่วยความจำ Cache ภายใน CPU ทำให้ 80486 ทำงานได้เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่เนื่องจากว่า 80486 ที่มี math co-processor มีราคาค่อนข้างสูง Intel จึงได้ออก CPU 80486SX ซึ่ง ได้ถอด math co-processor ออก (ตัว 80486 ที่มี math co-processor เรียกว่า 80486DX) ทำให้มีราคาถูกลง ตัว 80486 เองได้มีการปรับปรุงขึ้นมาอีกขั้นขึ้นการทำงานในลักษณะที่เรียกว่า Clock doubling คือ เป็นการเพิ่ม Speed ของ Clock ให้สูงขึ้น เช่น 80486DX/2 ทำงาน Clock speed 40/50/60 MHz 80486DX4 ทำงานที่ Clock speed 100 MHz เป็นต้น จากการที่ Clock speed สูงขึ้น บวกกับการที่ได้เพิ่มอุปกรณ์บางอย่างเช่น หน่วยความจำแคชที่มากขึ้น ทำให้ CPU รุ่นนี้ได้รับความนิยมอยู่เป็นเวลานาน และทำให้มีบริษัทอื่น นอกจาก Intel เริ่มเข้ามาผลิต CPU สำหรับ PC ออกมาแข่งขันกัน ได้แก่ Cylix และ AMD เป็นต้น


Pentium
เนื่องจากเริ่มมีบริษัทอื่นๆ ผลิต CPU สำหรับ PC ออกมาแข่งขันกับ Intel จึงทำให้ CPU รุ่นถัดมาของ Intel ไม่ใช้ชื่อเรียกเป็นหมายเลข ใช้เป็นชื่ออื่นแทน หลายท่านคงมีความเข้าใจ Pentium เป็น CPU ขนาด 64 บิต แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เนื่องจาก Pentium จะออกแบบมาคล้ายๆ กับใช้ 80486 สองตัวทำงานคู่ขนานกัน ทำให้กลไกการทำงานทั้งภายในและนอกตัว CPU เป็น 64 บิตไปโดยปริยาย CPU ของค่ายอื่นที่ออกมาในช่วงนี้ ก็มี AMD K5, Cylix 6x86

Pentium MMX, AMD K6 3DNOW, Cylix 6X86MX
ก็คือ Pentium ที่เพิ่มความสามารถในเชิงมัลติมิเดีย (MMX สำหรับ Pentium, 3DNOW สำหรับ AMD) และนอกจากนี้ยังได้เพิ่ม หน่วยความจำแคช Level 2 เข้ามาในตัว CPU มากน้อยแตกต่างกันในแต่ละค่าย
Celeron, PentiumII, Pentium III จะมีการเพิ่มส่วนขยาย MMX ออกไป ปรับสถาปัตยกรรมภายในใหม่ ทำให้มีการประมวลผลในเชิงจุดทศนิยมได้ละเอียดและถูกต้องมากขึ้น เพิ่มความสามารถในเชิง 3 มิติเข้าไป ส่วน Celeron จะมีคุณสมบัติอื่นๆ เหมือนกับ Pentium เพียงแต่ตัด L2 (หน่วยความจำแคช ระดับ2) ออกไปให้น้อยกว่า หรือไม่มีเลยในบางรุ่น ส่วน CPU ของค่ายอื่นๆ ก็ปรับปรุงขึ้นเป็น AMD K6, AMD K7 ตามลำดับ นอกจากนี้ CPU ในตระกูลเหล่านี้ยังสามารถทำงานกับ Clock speed สูงๆ ได้ 600 - 700 MHz เลยที่เดียว (แล้วแต่รุ่นของ CPU)


Intel Itanium และ AMD Sledgehammer
Intel ได้ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการให้กับ CPU 64 บิตของตัวเองว่า Itanium ซึ่ง Intel คาดว่าจะสามารถวางจำหน่าย Itanium ได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2001 และมีเป้าหมายจะเข้ามาแทนที่ Pentium III Xeon ที่ใช้กับเครื่อง Server หรือ Workstation ระดับสูงมากๆ นักสังเกตคาดว่า ความเร็วของ Itanium รุ่นแรกๆ จะอยู่ที่ 733 MHz ซึ่งน่าผิดหวังเมื่อเทียบกับ Pentium รุ่นปัจจุบันที่ทำความเร็วได้มากกว่า 1 GHz แต่อย่างไรก็ตามด้วยสถาปัตยกรรมที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงของ Itanium ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้กับ Pentium ด้วยวิธีการเดิมๆ
ถึงแม้ความเร็วเริ่มต้นของ Itanium จะน้อยกว่าแต่ Intel ก็ได้ออกแบบให้ Itanium ทำงานกับเลขทศนิยม 6 ล้าล้านคำสั่งต่อวินาที หรือ 6G FLOPS (6 billion floating-point operation per second) Itanium จะมีหน่วยคำนวณเลขจำนวนเต็ม (Integer Unit) 4 ตัว และหน่วยคำนวณเลขทศนิยม (Floating Point Unit) 2 ตัว มีแคช L1 32KB L2 96KB และสามารถเข้าถึง แคช L3 จากภายนอกได้ถึง 4MB มีรีจีสเตอร์ 128 ตัว และนอกจากนี้ Itanium ยังถูกออกแบบวงจร 0.18 ไมครอน และเป็น CPU แบบ Slot M โดยจะมี Clock Speed ของ Main board ที่ 266 MHz และนอกจากนี้ Intel ยังไม่ใช้สถาปัตยกรรม X86 ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบดั่งเดิมของตัวเองอีกต่อไป

เนื่องจาก ไม่ใช้สถาปัตยกรรม X86 Intel จึงได้ออกแบบ Itanium ให้มี X86 ฮาร์ดแวร์อีมูเลชั่น เพื่อให้ Itanium ทำงานได้กับ Software ที่ยังคงใช้ชุดคำสั่ง X86 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

AMD Sledgehammer
AMD Sledgehammer ได้วางเป้าหมายไว้ที่ตลาดระดับกลางและล่างของ Server PC รวมไปถึง ไฮเพาเวอร์เวิร์กสเตชั่น โดยยังคงรักษาความเข้ากันได้กับชุดคำสั่ง X86 และยังวางแผนที่ขยายสถาปัตยกรรมของตัวเองให้ก้าวไปสู่ 64 บิต โดยสถาปัตยกรรม X86-64 ของ AMD เอง มีการคาดกันว่า Sledgehammer ตัวแรกจะมีความเร็วมากกว่า 1 GHz และ AMD วางแผนที่จะจำหน่าย Sledgeham ตัวแรกในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2001 Sledgehammer มีรีจีสเตอร์สำหรับคำนวณเลขทศนิยม 16 ตัว มีรีจีสเตอร์สำหรับงานทั่วไป (General-purpose register GPR) 16 ตัว มีแคช L1 128KB L2 512 - 2MB เป็น CPU แบบ socket A ใช้ Main board ที่มี Clock Speed 266 MHz และออกแบบวงจรขนาด 0.13 ไมครอน และใช้การเชื่อมต่อโดยทองแดงในขบวนการผลิต

สินค้า

Atec Power 64-Bit
Atec Premier 64-Bit
Atec X-zite NX7300GT
Atec X-zite NX7600GT
Belta Cyclops E280L
Belta OXY S4 G 826
Belta OXY S4 E280
Belta OXY S4 G 934
Belta OXY S4 E6300
Belta OXY S4 G 828
Belta OXY S4 G 828
Belta SPHERE II 3283
Belta SPHERE II 3283
Belta SPHERE II 3283
Belta SPHERE II G 826
NEC POWERMATE MT 5001 AF
NEC POWERMATE MT 5001 AF
NEC POWERMATE MT 6001 AF
NEC POWERMATE MT 6001 AF
NEC POWERMATE MT 6501 AF
NEC POWERMATE DL T8000W
Hewlett-Packard Desktop DX2100
Hewlett-Packard DX5150
Hewlett-Packard Pavilion A1575L
Hewlett-Packard Pavilion A1582L
Hewlett-Packard Pavilion A1586L
Hewlett-Packard pavilion a1588L
Hewlett-Packard Pavilion A1591L
Hewlett-Packard Pavilion G1250L
Hewlett-Packard Pavilion G1260L
Hewlett-Packard Pavilion G1265L
Hewlett-Packard Pavilion S7550D
Hewlett-Packard Pavilion W5560D
Hewlett-Packard Pavillion M7590D
IBM Lenovo Think Center A52
IBM Lenovo Think Center E50


การบริการ
โดยเราได้เลือกใช้เครื่อง Server ที่มีคุณภาพมาใช้งาน
• เพื่อให้สมาชิกสามารถได้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ รวดเร็ว ในการใช้งานในราคาที่ประหยัดขึ้น
• ด้วยเครื่อง Server Processor Intel Pentium D (Dual Core) 3.0 GHz
• Ram DDR2 2GB
• สมาชิกจึงมั่นใจและสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แน่นอน
สินค้าทุกชิ้นใหม่ มีประกันทุกชิ้น ต้องเลือกสินค้าจาก EC Service?
- เพราะมีจำหน่ายตั้งแต่เครื่องประกอบ
- เครื่อง Brand ดังอย่าง ACER, Compaq
- มีบริการจัดส่ง-ติดตั้ง ถึงที่ พร้อมบริการหลังการขายนอกสถานที่เวลาเกิดปัญหา เราจะไปหาท่าน ลูกค้าไม่ต้องยกเครื่องไปศูนย์ฯ เอง
- เพราะความน่าเชื่อถือ สำคัญ สินค้าทุกชิ้น มาจากศูนย์ที่ไว้ใจได้เรื่องบริการ เช่น D Computer, Com7, Synex, HP Thailand, Epson Thailand, ACER Thailand เราจึงมั่นใจได้ว่าเราบริการให้ท่านได้รวดเร็วกว่าในราคาที่ ประหยัด
- มีบริการ Service 7 วัน ไม่เว้นวันหยุดตั้งแต่เวลา 07.30น. - 21.30น.
- ติดต่อได้ง่ายทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์, มือถือสำหรับหน่วยบริการนอกสถานที่, email
- ยินดีรับคำติชม ไม่ดีจริง ด่าได้เลย
ประโยชน์ในการใช้ PC 64 บิตและข้อดีข้อเสีย

ประโยชน์
การรับส่งข้อมูลจะมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น การประมวลผลรวดเร็ว
ยิ่งกว่าเดิม และเมนบอร์ดนี้ยังมีความยืดหยุ่นและสามารถเข้าได้กับทุกระบบอีกทั้งยังรองรับสถาปัตยกรรมแบบ 64 bit และ 32 bit อีกด้วย

ข้อดี
• ความสามรถในการใช้งานของเครื่องเป็นสองเท่าของ PC ธรรมดา
• สามารถรองรับการทำงานของแอพพลิเคชั่น ทั้งแบบ 32 บิต และ 64 บิต และใช้กับซอฟแวร์ในปัจจุบันได้
• สามารถประมวลผลได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม
• สามารถใช้งานกับโปรแกรมที่มีการซับซ้อนและละเอียด เช่น การตัดต่ดเรื่องสั้น หรือ ภาพยนตร์แบบเป็นเรื่องราว

ข้อเสีย
• อุปกรณ์ต่างๆของเครื่องยังมีราคาสูง
• ไม่สามารถทำงานบนเครื่อง PC 32 บิต แบบเต็มประสิทธิภาพ นอกจากจะต้องมีระบบปฏิบัติการที่ทำงานแบบ 64 บิต

สรุป
Pc 64 bit ความสามารถในการรองรับหน่วยความจำสูงสุดได้มากมายมหาศาลถึงประมาณ 16 EB (Exabytes) หรือประมาณ 16 ล้าน GB แล้วก็ยังช่วยให้การทำงานกับโปรแกรมหรืองานเกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดด้วย พีซีแบบ 64 บิตนั้นจะเปรียบได้เหมือนกับเป็นประตูสู่โลกอนาคตสำหรับบรรดานักโปรแกรมเมอร์มืออาชีพทั้งหลายที่จะได้เพิ่มโอกาส และศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานอันน่าตื่นตาตื่นใจให้เราได้เห็นกันอย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น: