ประวัติความเป็นมาขององค์กร
ความเป็นมาของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 30 ธันวาคม 2534 จึงอาจกล่าวได้ว่าได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อย่างไรก็ตามในการจัดตั้ง (สวทช.) นั้นเป็นการรวม 4 หน่วยงานที่มีอยู่เข้าด้วยกัน โดยทั้ง 4 หน่วยงานได้เริ่ม ดำเนินการมาก่อนหน้าแล้ว ดังนี้
พ.ศ. 2526 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
พ.ศ. 2528 ศูนย์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา
พ.ศ. 2529 ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ตามหลักการและเหตุผลท้ายพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 ระบุไว้ชัดเจนถึงมูลเหตุการจัดตั้ง สวทช. ว่า
"การที่รัฐบาลจะนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ จำเป็นต้องเพิ่มสมรรถนะทางวิศวกรรมและสมรรถนะทางเทคโนโลยีอื่นๆ ตลอดจนการบริการทางเทคโนโลยีด้านต่างๆ ไปพร้อมกันด้วย จึงจะสามารถนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาการผลิต การบริการ และกิจกรรมต่อเนื่องต่างๆ ทั้งทางอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม รวมทั้งช่วยให้ภาคการผลิตสามารถรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องครอบคลุมกิจกรรมหลายประเภทและต้องอาศัยทุนจำนวนมากทั้งจากภาครัฐบาลและจากแหล่งทุนอื่นทั้งภายในและต่างประเทศด้วย การระดมทุนและการบริหารทุนเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ สำหรับพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนี้ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ ไม่อาจอาศัยองค์กรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว แต่จำเป็นต้องมีองค์กรที่มีความเป็นอิสระ และเป็นองค์กรที่ประกอบด้วยบุคลากรที่มีความชำนาญในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนให้บรรลุประโยชน์ร่วมสูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ การส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาครัฐบาลและภาคเอกชน และการจัดตั้งกองทุนนี้จะครอบคลุมถึงการจัดตั้งศูนย์แห่งชาติเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเฉพาะสาขา และการจัดตั้งองค์กรพิเศษอื่น เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฉพาะด้านด้วย”
พระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2534เป็นปีที่ 46 ในรัชกาลปัจจุบัน
เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทนประเภทหมุนเวียนที่ใช้แล้วเกิดขึ้นใหม่ได้ตามธรรมชาติ เป็นพลังงานที่สะอาด ปราศจากมลพิษ และเป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง ในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สามารถจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบคือ
1. พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
2. พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตความร้อน
เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ
1. เซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ(PV Stan Alone System)
2. เซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่าย (PV Grid Connected System)
3. เซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน (PV Hybrid System)
เซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ(PV Stan Alone System)
เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่ชนบทที่ไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแบบอิสระ
เซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่าย (PV Grid Connected System)
เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับผลิตไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าโดยตรง ใช้ผลิตไฟฟ้าในเขตเมือง หรือพื้นที่ที่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึง อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับชนิดต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า
เซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน (PV Hybrid System)
เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และเครื่องยนต์ดีเซล ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นต้น โดยรูปแบบระบบจะขึ้นอยู่กับการออกแบบตามวัตถุประสงค์โครงการเป็นกรณีเฉพาะ
เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตความร้อน
การผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และการอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
การผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1. การผลิตน้ำร้อนชนิดไหลเวียนตามธรรมชาติ
2. การผลิตน้ำร้อนชนิดใช้ปั๊มน้ำหมุนเวียน
3. การผลิตน้ำร้อนชนิดผสมผสาน
การผลิตน้ำร้อนชนิดไหลเวียนตามธรรมชาติ
เป็นการผลิตน้ำร้อนชนิดที่มีถังเก็บอยู่สูงกว่าแผงรับแสงอาทิตย์ ใช้หลักการหมุนเวียนตามธรรมชาติ
การผลิตน้ำร้อนชนิดใช้ปั๊มน้ำหมุนเวียน
เหมาะสำหรับการใช้ผลิตน้ำร้อนจำนวนมาก และมีการใช้อย่างต่อเนื่อง เช่น โรงแรม โรงพยาบาล และอุตสาหกรรมบางประเภท
การผลิตน้ำร้อนชนิดผสมผสาน
เป็นการนำเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนจากแสงอาทิตย์มาผสมผสานกับความร้อนเหลือทิ้งจากการระบายความร้อนของเครื่องทำความเย็น หรือเครื่องปรับอากาศ โดยผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน
การอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งาน 3 ลักษณะ คือ
1. การอบแห้งระบบ Passive
2. การอบแห้งระบบ Active
3. การอบแห้งระบบ Hybrid
การอบแห้งระบบ Passive
คือระบบที่เครื่องอบแห้งทำงานโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์และกระแสลมที่พัดผ่าน ได้แก่
ก. เครื่องตากแห้งโดยธรรมชาติ เป็นการวางวัสดุไว้ที่กลางแจ้ง อาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์และกระแสลมในบรรยากาศในการระเหยความชื้นออกจากวัสดุ
ข. ตู้อบแห้งแบบได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง วัสดุที่อบจะอยู่ในเครื่องอบแห้งที่ประกอบด้วยวัสดุที่โปร่งใส ความร้อนที่ใช้อบแห้งได้มาจากการดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์ และอาศัยหลักการขยายตัวเอง อากาศร้อนภายในเครื่องอบแห้งทำให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศเพื่อช่วยถ่ายเทอากาศชื้น
ค. ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสม เครื่องอบแห้งชนิดนี้วัสดุที่อยู่ภายในจะได้รับความร้อน 2 ทาง คือ ทางตรงจากดวงอาทิตย์และทางอ้อมจากแผงรับรังศรีดวงอาทิตย์ ทำให้อากาศร้อนก่อนที่จะผ่านวัสดุอบแห้ง
การอบแห้งระบบ Active
คือระบบอบแห้งที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และยังต้องอาศัยพลังงานในรูปแบบอื่นๆ ช่วยในเวลาที่มีแสงอาทิตย์ไม่สม่ำเสมอหรือต้องการให้ผลิตผลทางการเกษตรแห้งเร็วขึ้น เช่น ใช้ร่วมกับพลังงานเชื้อเพลิงจากชีวมวล พลังงานไฟฟ้า วัสดุอบแห้งจะได้รับความร้อนจากอากาศร้อนที่ผ่านเข้าแผงรับแสงอาทิตย์ และการหมุนเวียนของอากาศจะอาศัยพัดลมหรือเครื่องดูดอากาศช่วย
การอบแห้งระบบ Hybrid
เป็นระบบอบแห้งที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และยังต้องอาศัยพลังงานในรูปแบบอื่นๆ ช่วยในเวลาที่มีแสงอาทิตย์ไม่สม่ำเสมอ หรือต้องการให้ผลิตผลทางการเกษตรแห้งเร็วขึ้น เช่น ใช้ร่วมกับพลังงานเชื้อเพลิงจากชีวมวล พลังงานไฟฟ้า วัสดุอบแห้งจะได้รับความร้อนจากอากาศร้อนที่ผ่านเข้าแผงรับแสงอาทิตย์ และการหมุนเวียนของอากาศจะอาศัยพัดลมหรือเครื่องดูดอากาศช่วย
ประโยชน์ของพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีต่อสังคม
โดยทั่วๆ ไปการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นประโยชน์อาจแบ่งเป็น 2 ลักษณะสำคัญ คือ
(1) การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในรูปของความร้อน
(2) การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
สำหรับประเทศที่เจริญแล้วทางด้านเทคโนโลยีและมีเศรษฐกิจดีดังเช่น สหรัฐอเมริกา โอกาสที่จะใช้ประโยชน์พลังงานแสงอาทิตย์ทั้งสองลักษณะมีมาก และขณะนี้ประเทศที่เอ่ยถึงนี้ก็กำลังทุ่มเทความรู้ความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรและทุนทรัพย์ในการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นประโยชน์ ในประเทศไทยเรานั้นเป็นที่น่ายินดีว่าคนไทยกำลังตื่นตัวในเรื่องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นประโยชน์ ในปัจจุบันนี้มีโครงการวิจัยการใช้ประโยชน์พลังงานแสงอาทิตย์ การประดิษฐ์คิดค้นสร้างอุปกรณ์เครื่องมือใช้ประโยชน์ของพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งสำหรับชีวิตประจำวัน และทางด้านเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และกำลังได้รับความสนใจ สนับสนุนจากรัฐบาลเป็นอย่างดี แต่การใช้ประโยชน์ของพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยก็มี ข้อจำกัดสำคัญอยู่ข้อหนึ่ง ซึ่งผู้สนใจในแหล่งพลังงานทดแทนนี้ควรตระหนักนั่นคือ การใช้
ประโยชน์พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่อาจจะกล่าวได้ว่า ทั้งหมดล้วนแต่เป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในรูปของความร้อนเท่านั้น มิใช่การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ไปผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นรูปของพลังงานที่สำคัญที่สุด สะดวกสบายต่อการใช้ที่สุด และมีบทบาทมากที่สุด สำหรับสังคมมนุษย์ ทั้งในวงการอุตสาหกรรมและชีวิตประจำวัน
ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยเราประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการนำเอาความร้อนของแสงอาทิตย์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น ในการสร้างเครื่องทำน้ำร้อนแสงอาทิตย์สำหรับโรงพยาบาล โรงแรม การทำเครื่องต้มน้ำแสงอาทิตย์ การทำเตาแสงอาทิตย์หรือเตาสุริยะ การทำเครื่องกลั่นน้ำแสงอาทิตย์ การทำเครื่องอบแห้งผลิตผลเกษตรกรรม และอื่นๆ อีกมากมายซึ่งเป็นการนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้โดยตรงที่มิต้องอาศัยเทคโนโลยีสูงนักหรือสลับซับซ้อนนัก
โดยทั่วๆ ไปในปัจจุบันนี้การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ทำได้ 2 วิธีคือ การเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของเซลล์สุริยะหรือโซล่าร์เซลล์ (Solar Cell) ซึ่งอาศัยวัสดุสำคัญประเภทสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน หรือสารประกอบกึ่งตัวนำ เช่น กอลเลียมอาร์เซไนด์ ส่วนอีกวิธีหนึ่งของ การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ก็คือ ใช้ความร้อนของแสงอาทิตย์ไปต้มน้ำหรือทำให้ก๊าซร้อน แล้วใช้ไอน้ำร้อนหรือก๊าซร้อนไปทำให้เทอร์ไบน์หรือกังหันใบพัดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุนอีกต่อหนึ่ง โดยสรุปแล้วถ้าจะผลิตไฟฟ้าในระดับใหญ่ถึงขั้นเป็นโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์แล้วก็ทำได้ 2 วิธี คือ ใช้เซลล์สุริยะจำนวนมากหรือ ใช้แสงอาทิตย์เป็นปริมาณมากไปต้มน้ำหรือทำให้ก๊าซร้อน แล้วไปทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานอีกต่อหนึ่ง ซึ่งในการนี้จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีค่อนข้างสูง สลับซับซ้อนและราคาการลงทุนชั้นแรกสูงมาก
สินค้าและบริการ
ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี ต่อตั้งขึ้นโดยมุ่งมั่นเป็นองค์กรที่สามารถนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาใช้เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศ รวมทั้งสร้างความสามารถในการพัฒนาและพึ่งตนเองให้กับสังคมและชุมชนไทย โดยมีภารกิจหลักคือ
1) พัฒนาความสามารถทางด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยผ่านการบริการให้คำปรึกษาทางด้านเทคนิค การนำทรัพย์สินทางปัญญาของ สวทช. และเทคโนโลยีจากแหล่งอื่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน
2) เพิ่มจำนวนบริษัทและผู้ประกอบการที่มีการพัฒนาระดับเทคโนโลยีฐานความรู้ โดยผ่านบริการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการดำเนินการวิจัยภายในอุทยานวิทยาศาสตร์และศูนย์บ่มเพาะเทคโนโลยี
3) ดำเนินการศึกษานโยบายในเชิงยุทธศาสตร์ และกำหนดแนวทางด้านนโยบาย (Policy agendas) แผนยุทธศาสตร์ และแนวทางสร้างความสามารถทางด้านเทคโนโลยีของประเทศเพื่อมุ่งสู่ เศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้ และ
4) บ่มเพาะสถาบันและโปรแกรมทางด้านเทคโนโลยีของ สวทช. ที่อยู่ภายใต้วาระแห่งชาติ (National Agenda) เช่น สถาบันวิจัยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ โปรแกรมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรระดับแนวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สินค้า
Solarcell 3V 100mA
Solarcell ขนาดเล็ก 3V 100mA ขนาด 5x5 cm เหมาะสำหรับการใช้งานใน Project ขนาดเล็ก เช่น เครื่องชาร์จถ่านด้วย พลังงานแสงอาทิตย์ ชาร์จมือถือด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โคมไฟสนาม ชุดทดลองการเรียนรู้การแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานไฟฟ้า
Solarcell 2.4V 200mA
solarcell ขนาดเล็ก 2.4V 200mA ขนาด 5.7x11.5 cm เหมาะสำหรับการใช้งานใน Project ขนาดเล็ก เช่น เครื่องชาร์จถ่านด้วย พลังงานแสงอาทิตย์ ชาร์จมือถือด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โคมไฟสนาม ชุดทดลองการเรียนรู้การแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานไฟฟ้า
Solarcell 5.1V 70mA
solarcell ขนาดเล็ก 3V 100mA ขนาด 6x8 cm เหมาะสำหรับการใช้งานใน Project ขนาดเล็ก เช่น เครื่องชาร์จถ่านด้วย พลังงานแสงอาทิตย์ ชาร์จมือถือด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โคมไฟสนาม ชุดทดลองการเรียนรู้การแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานไฟฟ้า
Solarcell 5W
แผง solarcell ขนาด 5W แบบ เคลือบด้วย กระจกนิรภัย และกรอบอลูมิเนียม เหมาะกับการนำไปใช้ชาร์จแบตเตอรี่ อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ แบตเตอรี่สำหรับเดินป่า โคมไฟถนน สามารถพกพาไปได้สะดวก
Solarcell 10W
แผง solarcell ขนาด 10W แบบ เคลือบด้วย กระจกนิรภัย และกรอบอลูมิเนียม เหมาะกับการนำไปใช้ชาร์จแบตเตอรี่ อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ แบตเตอรี่สำหรับเดินป่า โคมไฟถนน สามารถพกพาไปได้สะดวก
Solarcell 40W
แผง solarcell 40W แบบ ฟิมล์บางอะมอร์ฟัส ให้ประสิทธิภาพการแปลง พลังงานไฟฟ้าโดยเฉลี่ยสูง ราคาย่อมเยา กรอบเป็นอะลูมิเนียมง่ายต่อการติดตั้ง รับประกันสินค้าทุกแผง
Solarcell 123W
แผง solarcell ขนาด 123W แบบ ผลึกรวม เคลือบด้วย กระจกนิรภัย และกรอบอลูมิเนียม เหมาะกับการนำไปสำหรับ เป็นระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ น้ำหนักเบา ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานไฟฟ้าสูง อายุการใช้งานยาวนาน 25-30 ปี และการรับประกันระยะเวลายาวนานถึง 20 ปี
Solarcell 78W
แผง solarcell ขนาด 78W แบบ ผลึกรวม เคลือบด้วย กระจกนิรภัย และกรอบอลูมิเนียม เหมาะกับการนำไปสำหรับ เป็นระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ น้ำหนักเบา ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานไฟฟ้าสูง อายุการใช้งานยาวนาน 25-30 ปี และการรับประกันระยะเวลายาวนานถึง 20 ปี
ข้อดีและข้อด้อยของพลังงานแสงอาทิตย์
ข้อดี
ดวงอาทิตย์ทำให้สภาพภูมิอากาศของโลกแตกต่างกัน เขตต่างๆ ของโลกที่สำคัญๆ คือ
เขตร้อน เขตอบอุ่น และเขตหนาว เพราะเขตร้อนได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ที่มีระยะทางสั้นที่สุด จึงทำ
ให้ร้อนที่สุด ส่วนเขตอบอุ่น เขตหนาว ระยะของแสงจะยาวขึ้นไปตามลำดับ
ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสอากาศ ในเวลาเดียวกันแต่ละเขตแต่ละถิ่นจะได้รับแสงอาทิตย์ไม่เท่ากันและระบายความร้อนไม่เท่ากัน เมื่ออากาศ ณ ที่แห่งหนึ่งได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์จะมีคุณสมบัติเบาขยายตัวลอยสูงขึ้น ณ ที่อีกแห่งหนึ่งมวลอากาศเย็น ซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าเคลื่อนตัวเข้ามาแทนที่ ขณะที่มวลอากาศที่เย็นกว่าเคลื่อนตัวมาแทนที่ เราเรียกว่า “ลม” หรือการหมุนเวียนของกระแสอากาศ และแต่ละแห่งของโลกจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันตามเขตร้อน เขตอบอุ่นเขตหนาว จะมีลมประจำปีคือ ลมมรสุม ลมตะวันตก ลมขั้วโลก ตามสถานที่เฉพาะถิ่นจะมีลมบก ลมทะเลลมว่าว ลมตะเภา เป็นต้น แต่ลมภูเขา ลมบก ลมทะเล เกิดจากการรับความร้อนและการคายความร้อนไม่เท่ากัน
ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำ วัฏจักรของน้ำทำให้เกิดชีวิตเกิดฝน เกิดเมฆหมอก หยาดน้ำค้าง ไอน้ำในบรรยากาศ หรืออาจกล่าวได้ว่า วัฏจักรของน้ำทำให้เกิดชีวิตและสิ่งแวดล้อม วัฏจักรของน้ำเกิดจาก ขณะที่บรรยากาศร้อยขยายตัวลอยขึ้นเบื้องบนพาไอน้ำไปด้วย และในเงื่อนไขของอุณหภูมิที่ต่าง ๆ กัน รวมทั้งสถานการณ์สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ลมกระแสอากาศ จึงทำให้เกิดเมฆฝน พายุฝนฟ้าคะนอง ลูกเห็บคุณสมบัติของน้ำจะรับความร้อนช้าคายความร้อนเร็ว คุณสมบัติของดินจะรับความร้อนเร็วกว่าน้ำคายความร้อนช้ากว่าน้ำคุณสมบัติของหินภูเขา จะรับความร้อนเร็วกว่าดินคายความร้อนเร็วกว่า
ข้อด้อย
รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ รังสีอัลตราไวโอเลตเป็นรังสีที่ทำอันตรายต่อมนุษย์ เช่น โรคต้อกระจก โรคภูมิแพ้ ผิวหนังที่ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตนาน ๆ อาจเป็นมะเร็งได้ ในบรรยากาศมีชั้นโอโซน (Ozone) ประกอบด้วยออกซิเจน 2 อะตอม (O+O) ชั้นโอโซนจะมีความหนาพอสมควร ทำหน้าที่รับรังสีอัลตราไวโอเลตไว้ รังสีที่เหลือลงมายังโลกมีเพียงส่วนน้อยไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์
สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Cholo Fluorocabons) หรือซีเอฟซี (CFC)เป็นสารที่มนุษย์ใช้เกี่ยวข้องกับเครื่องทำความเย็นและโฟม สารเฮลโรน (Halons) ซึ่งมีธาตุจำพวกคลอรีน (Cl) โบรมีน (Br) สารไนตรัสออกไซด์ สารเหล่านี้มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดมากขึ้นในบรรยากาศ มีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี ทำลายชั้นโอโซน ทำให้ชั้นโอโซนบางลงและเมื่อชั้นโอโซนบางลงทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตทะลุผ่านมายังผิวโลกได้มาก ผลคืออุณหภูมิโลกร้อนขึ้นจึงเกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
สรุป
พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทนประเภทหมุนเวียนที่ใช้แล้วเกิดขึ้นใหม่ได้ตามธรรมชาติ เป็นพลังงานที่สะอาด ปราศจากมลพิษ และเป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง ในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สามารถจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบคือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตความร้อน
เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทนประเภทหมุนเวียนที่ใช้แล้วเกิดขึ้นใหม่ได้ตามธรรมชาติ เป็นพลังงานที่สะอาด ปราศจากมลพิษ และเป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง ในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สามารถจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบคือ
1. พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
2. พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตความร้อน
เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า คือ ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ
1. เซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ(PV Stan Alone System)
2. เซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่าย (PV Grid Connected System)
3. เซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน (PV Hybrid System)
การผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1. การผลิตน้ำร้อนชนิดไหลเวียนตามธรรมชาติ
2. การผลิตน้ำร้อนชนิดใช้ปั๊มน้ำหมุนเวียน
3. การผลิตน้ำร้อนชนิดผสมผสาน
การอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งาน 3 ลักษณะ คือ
1. การอบแห้งระบบ Passive
2. การอบแห้งระบบ Active
3. การอบแห้งระบบ Hybrid
ถ้าจะผลิตไฟฟ้าในระดับใหญ่ถึงขั้นเป็นโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์แล้วก็ทำได้ 2 วิธี คือ ใช้เซลล์สุริยะจำนวนมากหรือ ใช้แสงอาทิตย์เป็นปริมาณมากไปต้มน้ำหรือทำให้ก๊าซร้อน แล้วไปทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานอีกต่อหนึ่ง ซึ่งในการนี้จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีค่อนข้างสูง สลับซับซ้อนและราคาการลงทุนชั้นแรกสูงมาก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น